พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาล หน้าตัก 6.5 นิ้ว
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
Buranasilpa | |||||||||||||||
โดย
|
DDD | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาล หน้าตัก 6.5 นิ้ว |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาล ประทับนั่งทำปางมารวิชัย บนบัวคว่ำบัวหงาย เหนือฐานเขาสิงห์ หน้าตัก 6.5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปสำคัญบนโต๊ะหมู่ไหว้ครู ของโรงหล่อพัฒนช่าง ถือว่าเป็นที่สุดของทั้งงาน พุทธศิลป์ งานเชิงช่างและงานหล่อหลอมโลหะ เป็นผลงานของอาจารย์เจริญ (จำเริญ พัฒนางกูร) อธิบายขยายความในส่วนของงานพุทธศิลป์ ตามลักษณะที่ปรากฏเป็นการขึ้นทรงองค์พระ และส่วนประกอบโดยการตีหุ่นเทียนจากแม่พิมพ์หินสบู่ ให้ชิ้นงานที่มีรายละเอียด สัดส่วน และความคมชัดสูงสุด ในส่วนของงานเชิงช่าง เป็นการเทแยกชิ้นส่วน ตามสีของและชนิดโลหะ กล่าวคือ โลหะสีใดก็หมายถึง ชิ้นส่วนนั้น หนึ่งชิ้นที่เทแยกออกมา ซึ่งพอได้ครบทั้งองค์ แล้ว จึงนำมาประกอบเข้ารวมกันเป็นองค์พระที่สมบูรณ์ อีกทีหนึ่ง การประกอบนั้น เป็นการวางแผนล่วงหน้า ในแต่ละชิ้นส่วนเพื่อยึดแต่ละชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน หากแต่เป็นวิธีการเข้าลิ่มแบบการเข้าลิ่มงานไม้ แกนกลางที่เป็นองค์พระห่มจีวร จะยึดกับฐานด้วยหมุดโลหะขนาดใหญ่กับฐานด้านใน เพื่อให้องค์พระยังสามารถนั่งตั้งตรงได้โดยไม่ล้ม หรือขยับจากฐานเดิม จากกรรมวิธีดังกล่าว พระพุทธรูปองค์นี้จึงสามารถ ถอดประกอบได้ในแต่ละชิ้นส่วน เหมือนพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ ที่อาศัยการถอดแยกส่วน เพื่อสะดวกในการสร้างชิ้นงาน และการขนย้าย ในส่วนของงานด้านโลหะวิทยา พระพุทธรูปองค์นี้ แสดงถึงการใช้โลหะแตะละชนิด มาทำการ " ปรุง " เพื่อเฉลิมขึ้นเป็นองค์พระพุทธปฏิมา ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และมีสุนทรียในทางศิลปะ อย่างยิ่ง จากชิ้นงานจะพบว่าโลหะที่ใช้จะมีความแวววาว แม้จะผ่านการเวลามานาน อาจจะด้วยการเก็บรักษา อย่างรู้คุณค่าเป็นอย่างดี หากแต่ตัวโลหะเอง ก็ได้แสดงถึงคุณสมบัติในด้านความงาม ความใสเป็นมันวาว สะท้อนออกมาให้ได้รับชม อย่างที่กาลเวลา ไม่อาจจะทำให้เกิดความมัวหมอง จากการผสมผสานโลหะหลายชนิดเข้าด้วยกัน อาทิเช่น "ทองแดง" ซึ่งเป็นโลหะหลักที่เป็นส่วนที่สวมจีวร ให้การรับรู้แยกแยะพื้นที่และปริมาตร แยกออกจาก พระวรกายที่เป็นเนื้ออย่างชัดเจน ด้วยคุณสมบัติ การผสมเนื้อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้ตัวโลหะ ยังคงสว่างใส กว่าทองแดงทั่วไปทำให้เห็นพุทธลักษณะ ได้ชัดเจนมากขึ้น " ทองขาว" ยังคงทำหน้าที่ แสดงพื้นที่ผิวที่เป็นพระวรกาย ขององค์พระ แสดงสัดส่วน มวล และมิติของ พุทธลักษณะได้อย่างอ่อนหวาน ละมุนละไม จากการวางรูปแบบที่ให้สีของโลหะที่ตัดกัน สร้างการรับรู้ที่ให้อารมณ์อย่างที่ยากจะบรรยาย การทำงานกับโลหะผสมหลากหลายชนิด ที่มีจุดหลอมเหลวแตกต่างกัน แต่เมื่อทำการหล่อหลอม และเทเป็นชิ้นงานเสร็จออกมาเป็นพระพุทธรูป ที่มีความงดงามตามประสงค์ แสดงให้เห็นถึงทักษะ ความรู้ความเข้าใจในการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงการเลือกใช้โลหะแต่ละชนิด ที่จะส่งเสริมกันในด้านความงามซึ่งกันและกัน ทั้งหมดทั้งมวล พระพุทธรูปองค์นี้เป็นวัตถุที่เป็นประจักษ์พยานที่สำคัญ และเป็นสิ่งยืนยันถึงความมีอัจฉริยภาพในด้านงานช่าง และด้านสุนทรีศาสตร์ของครูช่าง ที่มีระบบระเบียบแบบแผน เป็นสายตระกูลช่างที่เป็นผู้สืบทอดและรักษา ภูมิปัญญาของช่างหล่อหลวง ที่หลอมรวมทั้ง วิชาช่างปั้นและวิชาช่างหล่อ ส่งมอบองค์ความรู้ดังกล่าว จากที่เป็นของเฉพาะในราชสำนัก ออกสู่ภายนอก เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจรรโลงศาสนวัตถุ ในพระบวรพุทธศาสนาและน้อมนำจิตใจ ของผู้ที่ได้พบเห็นให้เข้าถึงความสงบได้เป็นอย่างดี |
|||||||||||||||
ราคา
|
จัดแสดงเพื่อการศึกษา | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
๐๘๙ - ๗๘๓ - ๘๔๖๐ | |||||||||||||||
ID LINE
|
facebook : Buranasilpa Gallery (ร้านบุราณศิลป์) | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 045-5-057xx-x
|
|||||||||||||||
|