พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาล หน้าตัก ๕.๕ นิ้ว
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
Buranasilpa | |||||||||||||||
โดย
|
DDD | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาล หน้าตัก ๕.๕ นิ้ว |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพุทธรูปศิลปะแบบพระรัชกาลหน้าตัก 5.5 นิ้ว เนื้อสามกษัตริย์ 3 ชิ้นถอดเป็นของอาจารย์เจริญ พัฒนางกูร แห่งโรงหล่อพัฒนช่าง ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของบ้านช่างหล่อ สำหรับพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานอยู่ในครอบแก้ว บนโต๊ะไหว้ครูของโรงหล่อพัฒนช่าง ในส่วนของการอ่านงานเชิงช่าง เกิดจากการขึ้นหุ่นแกนทรายโดยการเหลาแกน แล้วจึงตีขี้ผึ้งจากแม่พิมพ์หินสบู่และแม่พิมพ์ปูนเปลือกหอย ประดับลงบนชิ้นงานใ นส่วนประกอบอื่นๆ อาทิเช่น ลักษณะพระพัตร์ , เม็ดเม็ดพระศก , เกตุมาลา ที่เป็นเปลวเพลิง , ชายสังฆาฏิหน้าหลัง , ลวดลายบัวคว่ำบัวหงาย ที่ประดับที่ฐาน ประกอบขึ้นมาเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมา แล้วจึงทำการ " ย่อย " เพื่อตัดแบ่งชิ้นส่วนสำหรับเข้าดินขี้วัว เหมือนกับกาสร้าง พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่จะแยกชิ้นส่วนต่างๆออก เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงาน สำหรับเททองเพื่อหล่อในแต่ละชิ้น ส่วนของพระวรกาย มีเนื้อโลหะที่มีสีสันแตกต่างกัน โดยพระวรกายที่เป็นเนื้อหนังมนุษยรูป ทำจากโลหะเงินผสมนิกเกิ้ล ส่วนที่เป็นจีวรห่มพระวรกายเป็นโลหะล่ำอู่แดง ปลายเกตุมาลาและฐานบัวคว่ำบัวหงายลงไปถึง ฐานเขียงชั้นล่างเป็นโลหะล่ำอู่เหลือง เมื่อชิ้นส่วนต่างๆได้ถูกนำมาประกอบเข้ากัน ด้วยการเคาะให้เข้าสลัก อย่างงานเข้าลิ่มงานไม้ ไม่ใด้ใช้ลวดเชื่อมประสาน อย่างงานสมัยใหม่ ชิ้นงานจึงยังคมชัด ไม่เลอะเทอะ ด้วยโลหะที่ใช้เชื่อม เป็นผลให้โลหะในแต่ละส่วน ยังคงแสดงคุณสมบัติสะท้อนออกมาให้ได้รับชม อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกบดบังปนเปื้อนจากโลหะอื่น เมื่อวางองค์พระประดิษฐานลงบนฐาน สามารถตั้งตรง และสร้างความสมมาตร ด้วยการวางแผนให้ชนวนที่นำน้ำทองเข้าสู่ะองค์พระ ยาวลงมาเป็นแกนกลางเพื่อทำเป็นเดือย สำหรับเสียบ เข้าฐานให้ตั้งตรงอยู่อย่างมั่นคง และสนิทกับตัวฐาน เมื่อเฉลิมรูปขึ้นเป็นพระพุทธปฏิมาแล้ว โลหะที่แยกชิ้นตามส่วนต่างๆ จึงได้แสดงผลการรับรู้ในภาพรวมนั้น ก่อให้เกิด ความกลมกล่อมและงดงาม จากความตั้งใจและการวางแผนการทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพท์ ออกมามีคุณภาพสูงสุด เมื่อสัมผัสทางสายตาย่อมก่อให้ เกิดความสงบและความงามขึ้นในจิตใจ โดยใช้ทักษะทางช่าง ผสานกับสุนทรียอันเป็นเลิศ ของครูช่างเพื่อสร้างผลงานไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ งานที่ดี ที่สวยที่งาม ชิ้นงานย่อมเป็นตัวบ่งบอก ถึงทักษะและฝีมือ ของผู้ที่รังสรรค์ผลงาน แต่ในโลกย์ยุคปัจจุบันที่ ความรู้ ความเข้าใจถึงทักษะและสุนทรีย ถูกชี้นำเพื่อหวังผลด้านการพาณิชย์ ทำให้หลายๆท่าน " เห็นเชือกเป็นงู " หวาดกลัว หรือระแวงสงสัยในสิ่งที่เป็นความรู้ จากชิ้นงานหรือองค์ความรู้ในอดีต ว่าจะเป็นการทำเทียมขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงขาดประสบการณ์ ในการอ่านงาน ทั้งรูปแบบศิลปะ การสร้างสรรค์ชิ้นงาน ความรู้ด้านโลหะวิทยา ตลอดจนความเข้าใจ ในบริบททางด้านสังคม รวมถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ในขณะนั้นๆที่จะมีผลต่อการผู้ว่าจ้างสร้างพระ และครูช่างผู้รับจ้างสร้างงาน จนทำให้เกิดความระแวงสงสัย โหมกระพือ ด้วยการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ ย่อมนำมาซึ่งความเสื่อมทั้งในด้านความรู้และด้านศิลปกรรม การเผยแพร่ซึ่งความรู้และเอกลักษณ์ที่สำคัญ รวมถึงขั้นตอนการสร้างงาน การอ่านวิธีการทำงานในเชิงช่างในอดีต จึงเป็นการรักษา ไว้ซึ่งภูมิปัญญาโบราณ รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้ในอดีต ให้กับคนรุ่นถัดไป ได้รับรู้รับชมจึงถือเป็นการอนุรักษ์ และกระตุ้นเตือนให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำไปสู่ความความเจริญงอกงาม ทางด้านความคิด ในมิติอื่นๆ ส่วนคนรุ่นถัดไปนั้นจะมองเห็นคุณค่า ที่บรรพบุรุษได้พากเพียร คิดอ่านบากบั่น สร้างสรรค์ขึ้นในอดีต หรือไม่นั้น ก็สุดแท้แล้วแต่พุทธิปัญญาของผู้ที่จะมองเห็น จะหยิบเอาส่วนใดๆที่จะเกิดประโยชน์ ไปต่อยอดให้เกิดคุณกับตัวของท่านเอง |
|||||||||||||||
ราคา
|
เพื่อการศึกษาเท่านั้น | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
๐๘๙ - ๗๘๓ - ๘๔๖๐ | |||||||||||||||
ID LINE
|
facebook : Buranasilpa Gallery (ร้านบุราณศิลป์) | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 045-5-057xx-x
|
|||||||||||||||
|